• สวัสดีครับเืพื่อนๆที่รักทุกท่าน  วันนี้เป็นวันจันทร์ครับ ผมพอมีเวลาที่จะเขียนบทความสักเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นแนวทางความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ไว้เป็นข้อมูลความรู้ในเบื้องต้น  และอาจลึกลงไปในส่วนชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์กันเลยนะครับ
  • บทความวันนี้ผมจะมาพูดถึงอาการและปัญหา และำแนวทางในการตรวจซ่อม อาการที่ถือว่าง่าย และ ก็ยาก นะครับ  อาการเสียนี้ ก็คือ

เปิดติด แต่ไม่มีภาพ หรือผมอาจจะเรียกว่า ไฟจ่าย แต่ไม่มีภาพครับ

ลักษณะของอาการนี้

  • ลักษณะของอาการที่ว่านี้  ก็หมายถึงว่า เพื่อนๆ ได้เสียบแหล่งจ่ายไฟ เข้าเครื่องโน๊ตบุ๊คเรียบร้อยแล้ว  เช่น แบตเตอรี่ หรืออาจเป็น Adaptor ก็ได้นะครับ  จากนั้น ที่ตัวไฟสถานะของตัวเครื่อง notebook จะติดสว่างขึ้น  อาจเป็นสี ส้ม  อาจเป็นสีน้ำเงิน อาจเป็นสีเขีย  หรืออาจไม่มีไฟสถานะติด  ก็มีเหมือนกันนะครับ  (จนกว่าเราจะกดสวิทช์เพื่อเปิดเครื่อง)  แต่ปรากฎว่ เมื่อกดปุ่ม Power on บนแผงหน้าปัดของโน๊ตบุ๊คแล้ว  ไฟสถานะก็ติด หรือ อาจเปลี่ยนสีไปเป็นอีกสีหนึ่ง จากนั้น เราก็รอดูที่หน้าจอของโน๊ตบุ๊ค  ไม่น่าจะเกิน  10 – 15 วินาทีครับ เราควรจะเห็นโลโก้ของโน๊ตบุ๊คนั้นๆ   แต่ถ้าเราไม่เห็นภาพไม่ว่าใดๆ ปรากฏที่จอของ  notebook  นั่งหมายถึงว่า เป็นอาการที่เรากำลังพูดถึงอยู่ตรงนี้นั่นเองแหละครับ

แนวทางการวิเคราะห์อาการ

กรุณาถอด ฺBattery ,HardDisk , Optical Drive ออกจากการเชื่อมต่อกับ Mainboard ก่อน (เพราะว่าชิ้นอุปกรณ์นี้ไม่เกี่ยวกับการเกิดภาพ)
  1. ต่อออกทางจอด้านนอก ทาง Port DB-15 หากได้ภาพ ก็แสดงว่าเป็นปัญหาทาง จอ LCD ของโน๊ตบุ๊ค ซึ่งอาจมองไปถึง สายสัญญาณที่ต่อจาก บอร์ดไปถึงแผงวงจรด้านหลังของ LCD , หรืออาจ จะเห็นภาพแต่อยู่ในความมืด  นั่นก็แสดงว่าเป็นปัญหาของ Inverter กับ หลอด Backlight ครับ
  2. หากวิธีตามข้อ 1 ไม่เกิดภาพ  ก็ต้องนำ RAM ออกมาขัดสี ฉวีวรรณ ด้วย ยางลบดินสอกัน ให้สะอาดนะครับ (สูตรนี้ใช้กันทั่วโลกครับ)  เมื่อเอาแรมออกมาแล้ว ก็อย่าลืมขัดฐานของแรมด้วยหละ  เพระาอาจมีคราบออกไซด์เกาะติดเช่นกัน  (ใช้แปรงสีฟันที่ไม่ใช่้แล้ว กับสเปย์แดงฟิลิป หรือสเปย์ฟ้าก็ได้ ) ทำให้สะอาดนะครับ  และใส่ลงไปใหม่ เพียงแผงเดียวเท่านั้นก่อน เพื่อทดสอบการทำงานการเกิดภาพครับ
  3. หากวิธีตามข้อ 2 ยังไม่เกิด  ก็ให้เพื่อนๆ ย้ายแรมไปเสียบที่ฐานที่สองของ บอร์ดดูนะครับ (ส่วนใหญ่ ฐานแรมของโน๊ตบุ๊คจะมีสองฐาน เราก็สลับเปลี่ยนดูระหว่างฐานหนึ่ง กับฐานที่สอง  และสลับเปลี่ยนตัวแรมดูด้วย)(แต่บางแท่นเครื่อง ฐานแรมด้านใต้เครื่องจะมีเพียงหนึ่งแถว ส่วนอีกแถวนั้นจะัอยู่ในเตัวเครื่อง คือต้องเปิดฝาครอบออกทั้งหมดครับจึงจะเจอ)
  4. หากวิธีการตามข้อ 3  ยังไม่เกิด ก็คงต้อง นำสิ่งเหล่านี้ไปทดสอบกับเครื่องอื่นครับ นั่นก็คือ ซีพียู แรม และ VGA Card (ถ้ารุ่นนั้นๆมี) นี่คือพื้นฐานเดิมๆจากพีซี เราก็นำมาใช้ได้กับโน๊ตบุ๊คเหมือนกันนะครับ  ปัญหาที่ตามมาก็คือ  เพื่อนๆ ที่ไม่ใช่ช่าง ก็จะไม่มีอุปกรณ์ต่าง ๆที่พูดถึง รวมถึงเครื่องสำรองที่จะสามารถ ถอดจากอีกเครื่องไปใส่อีกเครื่องหนึ่งได้ เพื่อทดสอบชิ้นอุปกรณ์  (นี่คือปัญหาใหญ่) ก็ต้องมีนะครับ ไม่งั้นงานออกยากตรง นี้ผมพลาดท่าเสียทีมาแล้ว ที่ไหนได้  แค่แรมที่เราใช้อยู่ประจำ เกิดเสียขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ (แต่ความเป็นไปได้น่าจะเป็นเรื่องของไฟฟ้าสถิตย์ ESD)
ถ้าได้ปฏิบัติตามนี้แล้ว  และยังไม่เกิด  โดยอุปกรณ์ ทั้ง CPU, RAM ,VGA ไม่เสีย (เพราะเอาไปทดสอบกับเครื่องอื่นแล้วใช้งานได้) นั่นก็หมายความว่า ความเสียหายนั้นอยู่ที่ตัว Mother Board นั่นเองครับ  งานนี้ต้องเป็นช่างนะครับ(แบบช่างอิเล็คด้วย) ถึงจะพอไหวนะครับครับ

คราวนี้ ก็ถึงหน้าที่ของช่างอิเล็คฯแบบเราๆ ที่จะต้ิองแก้ปัญหาในกรณีนี้นะครับ

หมายเหตุ..บทความ และความคิดเห็นตรงนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ที่ได้มีประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังเป็นวิทยาทาน

ไม่ขอรับรองว่า เมื่อเพื่อนๆนำไปปฏิบัติแล้วจะประสบความสำเร็จทุกท่าน ทุกคน ทุกเครื่อง ไปนะครับ

ไว้ค่อยติดตามกันต่อในตอนต่อไปนะครับ